เซลล์

                                                                                         ภาพส่วนประกอบของเซลล์สัตว์

 

5

เซลล์ ( cell)

                เซลล์หมายถึง   หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต           เซลล์มีโครงสร้างและหน้าที่ซับซ้อนแตกต่างกันไป

ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์   สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากเช่น  อะมีบา  พารามีเซียม  ยูกลีนา   ยีสต์   ประกอบด้วยเซลล์เพียง

เซลล์เดียว  แต่พืชและสัตว์ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก  เซลล์มีขนาดแตกต่าง    มีขนาดตั้งแต่เล็กที่สุดซึ่งไม่

สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าขึ้นไปจนกระทั่งขนาดใหญ่  เช่น  เซลล์อสุจิ  เซลล์ไข่  ไข่นกกระจอกเทศ  รอเบิร์ต  ฮุค ( Robert   Hooke)นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ

ได้ค้นพบและตั้งชื่อไว้เมื่อปี พ.ศ. 2208

ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์

       1. ผนังเซลล์  (cell   wall )

                เป็นโครงสร้างที่ไม่มีชีวิตที่หุ้มรอบนอกสุดของเซลล์   มีเฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้นเป็นส่วนใหญ่  ไม่พบใน

เซลล์สัตว์   ประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่และสารพวกเพคติน  ลิกนิน ฮีมิเซลลูโลสพบในเซลล์ที่

ต้องการความแข็งแรง เซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้  ซึ่งมีลักษณะ

แตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆตัวอย่าง เช่น เปลือกกุ้ง  กระดองปู  มีสารเคลือบพวกไกลโคโปรตีน

 หน้าที่    ให้ความแข็งแรง   ป้องกันอันตรายให้แก่เซลล์พืชและทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้  

        2. เยื่อหุ้มเซลล์ ( cell   menbrane)

                  เป็นเยื่อบาง ๆ ที่หุ้มรอบไซไทพลาซึม  และสารบางอย่างภายในเซลล์ องค์ประกอบหลักเป็นสารพวกโปรตีน

และไขมัน พบได้ทั้งเซลล์ของพืชและเซลล์ของสัตว์  มีลักษณะยืดหยุ่นและยืดหดได้             

  หน้าที่     ควบคุมปริมาณและชนิดของสารที่ผ่านหรือเข้าออกจากเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์มีรูพรุนเล็ก ๆ  เพื่อให้สารบางอย่างที่มีขนาดเล็กเช่น  น้ำ แก๊ส สารอาหารโมเลกุลเดี่ยว   ผ่านเข้าไปได้ และไม่ให้สารที่มีขนาดใหญ่เช่นแป้ง  ไขมัน โปรตีน ผ่านเข้าออกจากเซลล์  จึงมีคุณสมบัติเป็น เยื่อเลือกผ่าน ( Semipermeable  menbrane )

      3. โปรโทพลาซึม ( Protoplasm ) เป็นส่วนทั้งหมดที่อยู่ถัดจากเยื่อหุ้มเซลล์เข้ามา  แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

      3.1 นิวเคลียส (Nucleus ) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเซลล์  พบทั้งเซลล์พืชและสัตว์ มีลักษณะค่อนข้างกลม

หน้าที่  ควบคุมกระบวนการทำงานของเซลล์สิ่งมีชีวิต  การเจริญเติบโต  และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน โดยบรรจุสารพันธุกรรม ( ยีน  ยีนคือหน่วยพันธุกรรมหรือลักษณะที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้)ไว้ในโครงสร้างที่เรียกว่า  โครโมโซม ภายในนิวเคลียสประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ 1. นิวคลีโอลัส  ประกอบด้วย DNA และ RNA ทำหน้าที่สร้างโปรตีน  2.  โครมาติน คือ ร่างแหโครโมโซม ประกอบด้วย DNA  ที่เรียกว่า ยีนบนยีนจะมีรหัสพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีน

3.2       ไซโทพลาซึม  (cytoplasm )   มีลักษณะเป็นของเหลว    อยู่รอบ ๆ นิวเคลียสมีสารที่สำคัญปนอยู่คือ  น้ำ โปรตีน

 ไขมัน คาร์โบไฮเดรต  เกลือแร่  และองค์ประกอบต่าง ๆ  ของเซลล์  ที่เรียกว่า   ออร์แกเนลล์ ( organelle) ออร์แกเนลล์ที่พบเฉพาะในเซลล์พืชได้แก่   คลอโรพลาสต์และแวคิวโอล  ส่วนที่พบเฉพาะในเซลล์สัตว์  ได้แก่       เซนทริโอลและ    ไลโซโซม

 

6

ออร์แกเนลล์                         หน้าที่ ออร์แกเนลล์                         หน้าที่
ไรโบโซม สังเคราะห์โปรตีน แฟลกเจลลาและซีเลีย ช่วยในการเคลื่อนไหวของเซลล์
กอลจิบอดี อัดโปรตีนให้เล็กลง แวคิวโอล แหล่งสะสมสารต่าง ๆ
ร่างแหเอ็นโดพลาสซึม สร้างโปรตีนและเป็นทางออกของสารจากนิวเคลียสไปสู่ไซโทพลาซึม ไลโซโซม มีเอนไซม์ย่อยสิ่งแปลกปลอม
ไมโครทิวบลู ช่วยในการแบ่งเซลล์ คลอโรพลาสต์ สังเคราะห์แสง
เซนตริโอล ช่วยในการแบ่งเซลล์การเคลื่อนที่ของเซลล์ ไมโทคอนเดรีย สร้างพลังงาน

มีหน้าที่  เกี่ยวกับเมตาโบลิซึม  ภายในไซโทพลาซึมของพืชจะมีเม็ดสีเขียว ที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์  ( chloroplast )  ภายในไซโทพลาซึมยังประกอบด้วยหน่วยเล็ก  ๆ  ที่สำคัญอีกหลายชนิดดังตัวอย่างเช่น

     3.2.1 ไมโทคอนเดรีย   ( mitochondria )  มีลักษณะยาวรีเป็นแหล่งผลิตสารที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์

    3.2.2  คลอโรพลาสต์  ( Chloroplast )  มีเฉพาะในเซลล์ที่มีสีเขียวของพืชและเซลล์ของโปรตีน   บางชนิดประกอบด้วยเยื่อหุ้ม   2   ชั้น  ชั้นนอกมีหน้าที่ควบคุมโมเลกุลต่าง ๆ ที่ผ่านเข้าและออก จากคลอโรพลาสต์  ชั้นในมีลักษณะยื่นเข้าไปภายในและติดต่อกันเป็นชั้นอย่างมีระเบียบแบบแผน

ใส่ความเห็น